วันพุธที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2563

แบบทดสอบ เรื่องบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหาร พร้อมเฉลย

 บรรจุภัณฑ์สำหรับอาหาร พร้อมเฉลย

แบบทดสอบ


 1. วัสดุจากธรรมชาติในข้อใด สามารถนำมาทำบรรจุภัณฑ์ได้


                ก. ก้อนหิน


                ข. เมล็ดพืช


                ค.รากไม้ไผ่


                ง. ทางมะพร้าว




2. ข้อใดเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากใบตอง


            ก. บายศรีเก้าชั้น


            ข. ม้าก้านกล้วย


            ค.กระทงใส่ห่อหมก


            ง. กระถางปลูกพลูด่าง




3. บรรจุภัณฑ์ที่ทำลายสิ่งแวดล้อม ไม่ควรนำมาใช้ คือข้อใด


                ก. กระทงใบเตย


                ข. ตะกร้าใบลาน


                ค. กล่องบรรจุนม


                ง. กล่องโฟมแช่อาหาร




4. บรรจุภัณฑ์ มีกี่ประเภท


            ก. 2 ประเภท


            ข. 3 ประเภท


            ค. 4 ประเภท


            ง. 5 ประเภท




5. บรรจุภัณฑ์ในข้อใดที่ไม่ได้เริ่มต้นมาจากธรรมชาติ


                ก. ลังไม้


                ข. เปลือกไข่


                ค. ฝักถั่วลันเตา


                ง. กระเพาะสัตว์




6. การออกแบบบรรจุภัณฑ์ ควรคำนึงถึงเรื่องใดบ้าง


                ก. เอกลักษณ์ของท้องถิ่น


                ข. วัสดุธรรมชาติที่มีในท้องถิ่น


                ค.ศิลปะ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น


                ง.ถูกหมดทุกข้อ




7. กล่องกระดาษแข็งที่ไม่ใช้แล้ว ขนาด 12 X 12 นิ้ว ยังอยู่ในสภาพดี สวยงาม นักเรียนสามารถออกแบบทำบรรจุภัณฑ์ในข้อใดจึงจะเหมาะสมที่สุด


                ก. กระถางปลูกต้นไม้


                ข. กล่องแช่ผัก ผลไม้


                ค. กล่องบรรจุอาหารแห้ง


                ง. กล่องใส่หนังสือเรียน ไม้บรรทัด




8. วัสดุจากธรรมชาติในข้อใด สามารถนำมาประดิษฐ์ดอกไม้แห้ง ใส่แจกันตกแต่งบ้านได้


                ก. ก้านกล้วย


                ข. ใบยางพารา


                ค. ดอกหญ้าคา


                ง. ดอกกุหลาบมอญ




9. วัสดุจากธรรมชาติในข้อใด สามารถนำมาสานตะกร้าใส่ของได้แข็งแรง ทนทาน


                ก. หวาย


                ข. ใบไผ่


                ค. ใบจาก


                ง. ต้นตาล




10. ถ้าต้องการให้บรรจุภัณฑ์ที่นักเรียนออกแบบแตกต่างจากผู้อื่น นักเรียนต้องมีในเรื่องใด

 

      ก. งบประมาณ


       ข. วัสดุ อุปกรณ์

 

       ค. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์


    ง. ข้อมูลพื้นฐานของบรรจุภัณฑ์











































 




เฉลย      

1. ง     

2.  ค   

 3.  ง 

 4.  ก   

 5.  ก     

 6. ง  

  7.  ค   

  8.  ข    

  9.  ก     

  10.  ค


แบบทดสอบ เรื่องวิตามินและเกลือแร่ พร้อมเฉลย

                             แบบทดสอบ


 1. แร่ธาตุ วิตามิน และน้ำมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ในเรื่องใด


ก. ช่วยให้เอนไซม์ทำงานได้ดี


ข. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการหายใจ


ค. ช่วยในการสร้างฮอร์โมน


ง. ช่วยในการสังเคราะห์สารต่างๆ




1) ข้อ ก. และ ข. 


2) ข้อ ข. และ ค.


3) ข้อ ก., ค. และ ง. 


4) ข้อ ข., ค. และ ง.




2. ธาตุใดพบในมอลเทส แต่ไม่พบในมอลโทส


1) คาร์บอน 


2) ไนโตรเจน 


3) ออกซิเจน 


4) ไฮโดรเจน




3. ในขณะที่ร่างกายอ่อนเพลียมากๆ สารอาหารพวกใดที่เราควรรับประทาน เพื่อให้ร่างกายเป็นปกติในเวลาสั้นๆ  เพราะเหตุใด


1) กรดอะมิโน เพราะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิตได้เร็ว


2) กรดไขมัน เพราะเป็นสารที่ให้พลังงานสูงสุด


3) น้ำตาลกลูโคส เพราะจะถูกนำไปใช้ให้เกิดพลังงานได้เร็วกว่าอาหารอื่น


4) น้ำเกลือ เพราะเป็นสารอาหารที่ใช้ทดแทนแร่ธาตุที่สูญเสียไป




4. โครงสร้างระดับโมเลกุลของ ATP คล้ายกับโมเลกุลของสารใด


ก. นิวคลีโอไทด์ที่มีเบสไพริดีน 


ข. นิวคลีโอไทด์ที่มีเบสพิวริน


ค. กรดอะมิโน


ง. กรดไขมัน




1) เฉพาะข้อ ก. 


2) เฉพาะข้อ ข.


3) ข้อ ก. และ ค. 


4) ข้อ ข. และ ง.




5. สิ่งมีชีวิตเก็บพลังงานที่ได้จากการหายใจไว้ในรูปอินทรียสารที่มีพลังงานสูงชนิดหนึ่ง โดยพลังงานจะมีค่าสูงมาก


ในพันธเคมีของสารใด


1) หมู่ฟอสเฟตกับหมู่น้ำตาลไรโบส 


2) หมู่น้ำตาลไรโบสกับหมู่เบสอะดีนีน


3) หมู่เบสอะดีนีนกับหมู่ฟอสเฟต 


4) หมู่ฟอสเฟตกับหมู่ฟอสเฟต




















































































เฉลย


1. 3) 


2. 2) 


3. 3) 


4. 2) 


5. 4)


แบบทดสอบ เรื่องโปรตีน พร้อมเฉลย

                            แบบทดสอบ

1. กรดนิวคลีอิกอีกที่พบในเซลล์สิ่งมีชีวิตมีกี่ชนิด

1. 1 ชนิด

2. 2 ชนิด

3. 3 ชนิด

4. 4 ชนิด

2. นิวคลีโอไทด์ของดีเอ็นเอประกอบด้วยสารใดต่อไปนี้

1. น้ำตาลไรโบส N-เบส และหมู่ฟอสเฟต

2. น้ำตาลกลูโคส N-เบส และหมู่ฟอสเฟต

3. น้ำตาลดีออกซีไรโบส N-เบส และหมู่ฟอสเฟต

4. น้ำตาลดีออกซีไรโบส N-เบส และไตรกลีเซอไรด์

3. หน่วยย่อยของกรดนิวคลีอิกคืออะไร

1. กรดอะมิโน

2. กลูโคส

3. นิวคลีโอไทด์

4. กรดไขมัน

4. ธาตุที่เป็นองค์ประกอบของสารประเภทคาร์โบไฮเดรตคือข้อใด

1. ธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน

2. ธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และไนโตรเจน

3. ธาตุคาร์บอน ไนโตรเจน และออกซิเจน

4. ธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน และไนโตรเจน

5. คาร์โบไฮเดรตชนิดใดที่ร่างกายสามารถนำไปใช้ได้โดยตรง

1. น้ำตาลมอลโทส

2. น้ำตาลซูโครส

3. น้ำตาลกลูโคส

4. ไกลโคเจน

6. ไกลโคเจนซึ่งเป็นคาร์โบไฮเดรตที่สะสมอยู่ในเซลล์ของสัตว์พบมากที่ใด

1. สมองและหัวใจ

2. ตับและกล้ามเนื้อ

3. หัวใจและตับ

4. กระเพาะอาหารและลำไส้

7. ลิพิดเป็นสารชีวโมเลกุลประกอบด้วยธาตุใดบ้าง

1. ธาตุคาร์บอน ธาตุไฮโดรเจน และธาตุออกซิเจน

2. ธาตุไฮโดรเจน ธาตุออกซิเจน และธาตุไฮโดรไลซ์

3. ธาตุคาร์โบไฮเดรต ธาตุไฮโดรเจน และธาตุออกซิเจน

4. ธาตุออกซิเจน ธาตุคาร์บอน และธาตุคาร์บอนไดออกไซด์

8. ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของไขมัน

1. ถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม

2. ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น

3. ช่วยป้องกันการกระแทก

4. ช่วยป้องกันการสูญเสียความร้อน

9. โปรตีนเป็นพอลิเมอร์ธรรมชาติที่เกิดจากการรวมตัวของกรดอะไร

1. กรดพอลิเพปไทด์

2. กรดอะมิโน

3. กรดไดเพปไทด์

4. กรดไลซีน

10. สายพอลิเพปไทด์พันกันในลักษณะเหมือนเส้นใยสายยาวๆ เรียกว่าอะไร

1. โปรตีนขนส่ง

2. โปรตีนก้อนกลม

3. โปรตีนเส้นใย

4. โปรตีนโครงสร้าง




เฉลยคำตอบ

1. 2

2. 3

3. 3

4. 1

5. 3

6. 2

7. 1

8. 1

9. 2

10. 4

แบบทดสอบ เรื่องคาร์โบไฮเดรต พร้อมเฉลย

                                แบบทดสอบ

 1. คาร์โบไฮเดรตแบ่งตามจํานวนหน่วยองค์ประกอบในโครงสร้างออกได่เป็นกี่ประเภท

1)2 ประเภท

2)3 ประเภท

3)4 ประเภท

4)5 ประเภท

2. หนวยองคประกอบของโครงสรางคารโบไฮเดรตที่เล็กที่สุดคือ

1)โอลิโกแซ็กคาไรด์

2)ไดแซ็กคาไรด์

3)มอโนแซ็กคาไรด

4)พอลิแซ็กคาไรด

3. ข้อใดไม่ใช่น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว

1)กลูโคส

2)ฟลุคโตส

3)กาแลกโตส

4)ซูโคลส

4. แป้ง เซลลูโลสและเฮมิเซลลูโลส จัดเป็นคาร์โบไฮเดรตประเภทใด

1)พอลิแซ็กคาไรด์

2)โอลิโกแซ็กคาไรด์

3)มอโนแซ็กคาไรด์

4)ไดแซ็กคาไรด์

5. เราสามารถรับคาร์โบไฮเดรตได้จากอะไร

1)ไข่ไก่

2)ข้าว

3)เนื้อวัว

4)เนย

6. ข้อใดไม่จัดว่าเป็นคาร์โบไฮเดรตประเภทพอลิแซ็กคาไรด์

1)แป้ง

2)ไกลโคเจน

3)มอลโทส

4)อินูลิน

เฉลยคำตอบ

1. 3 ประเภท

2. มอโนแซ็กคาไรด

3. ซูโคลส

4. พอลิแซ็กคาไรด

5. ข้าว

6. มอลโทส


แบบทดสอบ เรื่องไขมันและน้ำมัน

                              แบบทดสอบ


1) ลิพิดเตรียมได้จาก


1.กรดไขมันและกลีเซอรอล


2.แอลกอฮอล์และกลีเซอรอล


3.กรดไขมันและแอลกอฮอล์


4.กลีเซอรอลและน้ำ


5. กรดไขมันและน้ำ




2) ข้อใดเป็นกรดไขมันอิ่มตัว


1. โอเลอิก


2. ลิโนลีอิก


3. ลิโนลีนิก


4. บิวทาริก


5. ปาล์มิโตเลอิก




3)ข้อใดกล่าวได้ถูกต้องเกี่ยวกับลิพิด


1.ของแข็งที่อุณหภูมิธรรมดาเรียกว่าน้ำมัน


2.ไขวัวและเนยส่วนใหญ่เป็นกรดไม่อิ่มตัว


3.น้ำมันที่ได้จากถั่วเหลืองเป็นกรดไม่อิ่มตัว


4.กรดโอลิอิกได้มาจากน้ำมันมะพร้าว


5.ของเหลวที่อุณหภูมิธรรมดาเรียกว่าไขมัน




4) กรดไขมันชนิดใดเป็นกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว


1.กรดปาลมิติก กรดสเตียริก


2.กรดโอเลอิก กรดสเตียริก


3.กรดไลโนเลอิก กรดสเตียริก


4.กรดไลโนเลอิก กรดปาลมิติก


5.กรดไลโนเลอิก กรดอะราซิโนดิก




5) ข้อใดไม่ใช่ข้อสรุปที่ได้จากตารางข้อมูลนี้


1. กรดไขมัน A และ B เป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง


2. ในไขมันสัตว์มีกรดไขมัน A และ B มากกว่ากรดไขมัน C และ D


3. กรดไขมัน C และ D เกิดกลิ่นเหม็นหืนยาก


4. กรดไขมันที่มีจำนวนพันธะคู่มากกว่าจะมีจุดหลอมเหลวน้อยกว่า หากมีจำนวนคาร์บอนเท่ากัน


5. ไม่มีข้อใดถูก




6) ในไขมัน 1 กรัม จะให้พลังงานแก่ร่างกายของเรา ประมาณกี่กิโลแคลอรี


1. 1 กิโลแคลอรี่


2. 2 กิโลแคลอรี่


3. 3 กิโลแคลอรี


4. 6 กิโลแคลอรี


5. 9 กิโลแคลอรี




7) ลิพิดต่างจากไขมันอย่างไร


1. ไม่ต่างกัน เพียงแต่ว่าลิพิดมีความหมายกว้างกว่า เพราะลิพิดรวมถึงสารอื่นที่ไม่ใช่ไขมัน


2. ไม่ต่างกันเพราะทั้งลิพิดและไขมันนั้นหมายถึงสารชีวโมเลกุลทีี่เป็นไขมันบริโภคจะเรียกชื่อใดก็ใช้ได้


3. ต่างกัน เพราะลิพิดมีความหมายกว้างกว่า หมายถึงสารประเภทไขมันทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นสารอินทรีย์หรือนินทรีย์ก็ตาม


4. ต่างกัน เพราะไขมันหมายถึงสารอินทรีย์ที่ประกอบด้วยธาตุ C H O ได้มาจากการทำปฏิกิริยากับกรดไขมัน


5. ไม่มีข้อใดถูก


 


8) ข้อใดเป็นกรดไขมันชนิดอิ่มตัวทั้งหมด


1. มาริสตริก สเตียริก โอเลอิก


2. สเตียริก โอเลอิก ไลโนเลอิก


3. โอเลอิก ไลโนเลอิก ไลโนเลนิก


4. ลอริก ปาล์มิติก สเตียริก


5. ลอริก สเตียริก โอเลอิก




9) ข้อใดคือสมบัติของไขมันและน้ำมัน


1. มีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ ไม่ละลายน้ำ


2. ละลายน้ำได้ เกิดปฏิกิริยาสะปอนนิฟิเคชัน


3. ละลายน้ำและเกิดการเหม็นหืนได้


4. ไม่ละลายน้ำและมีจุดเดือดจุดหลอมเหลวต่ำกว่าน้ำมัน


5. ละลายน้ำได้และมีจุดเดือดจุดหลอมเหลวต่ำกว่าน้ำมัน




10) การป้องกันการเหม็นหืนของไขมันและน้ำมัน คือข้อใด


1. เติมสารกันหืนหรือสารยับยั้ง เช่น วิตามินบี และซี


2. เติมสารกันหืนหรือสารยับยั้ง เช่น วิตามินอี และซี


3. เติมสารกันหืน เช่น วิตามินเอ ดี อี เค


4. เติมสารยับยั้ง เช่น วิตามินเอ ดี อี เค


5. เติมกรดและเบส






































เฉลย


1. 1


2. 4


3. 3


4. 5


5. 3


6. 5


7. 4


8. 4


9. 1


10. 2




ที่มา https://quizizz.com/admin/quiz/5d567af829c900001a71686f/-

แบบทดสอบ เรื่องการละลายของสารในน้ำ พร้อมเฉลย

                           แบบทดสอบ

1. น้ำเป็นสารประกอบที่มีสูตรโมเลกุลคือ ?

1. H2OO2. H22O3. H2O4. H2HO

2. สมบัติทางกายภาพของน้ำ

    1. ไม่มีรส มีสี มีกลิ่นมีรส

    2. มีรส ไม่มีกลิ่น มีสี

    3.ไม่มีรส มีกลิ่น ไม่มีสี

    4.ไม่มีรส ไม่มีกลิ่น ไม่มีสี


3. H20 ประกอบด้วยธาตุไฮโดรเจน 2 อะตอม และออกซิเจน 1 อะตอมยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะใด ?

    1. Ionic Bond

    2. Cavalant Bond

    3. Metallic Bond

    4. Covalent Bond


4. น้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติเป็นน้ำที่ไม่บริสุทธิ์มีสารเจือปนซึ่งอาจจะเป็น สารโคเวเลนต์ และสารที่อยู่ในรูปของไอออน คำถามถามว่าสารที่อยู่ในรูปของไอออนที่มีปริมาณมากในน้ำทะเลคือสารใด ?

    1. คลอไรด์ไอออน ซัลเฟตไอออน

    2. แคลเซียมไอออน โซเดียมไอออน

    3. คลอไรด์ไอออน โซเดียมไอออน

    4. โพแทสเซียมไอออน โซเดียมไอออน


5. การละลายของสารในน้ำเกิดขึ้นเมื่อใด ?

    1. เมื่ออะตอมของน้ำเข้าไปแทรกระหว่างโมเลกุลหรือไอออนของตัวละลายได้สารผสมที่            เป็นสารเนื้อเดียว

    2. เมื่อโมเลกุลของน้ำเข้าไปแทรกระหว่างโมเลกุลหรือไอออนของตัวละลายได้สารผสมที่            เป็นสารเนื้อเดียว

    3. เมื่อโมเลกุลของน้ำเข้าไปแทรกระหว่างโมเลกุลหรือไอออนของตัวละลายได้สารผสมที่            เป็นสารเนื้อผสม

    4. เมื่ออะตอมของน้ำเข้าไปแทรกระหว่างโมเลกุลหรือไอออนของตัวละลายได้สารผสมที่            เป็นสารแขวนลอย
















































เฉลย

1) 3.ไม่มีรส ไม่มีกลิ่น ไม่มีสี

2) 4.ไม่มีรส ไม่มีกลิ่น ไม่มีสี

3) 4. Covalent Bond

4) 3.คลอไรด์ไอออน โซเดียมไอออน

5) 2.เมื่อโมเลกุลของน้ำเข้าไปแทรกระหว่างโมเลกุลหรือไอออนของตัวละลายได้สารผสมที่เป็นสารเนื้อ  

         เดียว


ที่มา : https://quizizz.com/admin/quiz/5d554aaac14411001a864961/-

แบบทดสอบ เรื่องสารในแหล่งน้ำธรรมชาติ พร้อมเฉลย

                                   แบบทดสอบ

1. ทรัพยากรธรรมชาติข้อใดไม่จัดอยู่ในประเภท เดียวกัน

                  1. อากาศ แสงอาทิตย์             2.  พืช ป่าไม้

                  3.  ถ่ายหิน แก๊สธรรมชาติ     4.  ดิน น้ำมันปิโตเลียม


         2. ข้อใดจัดเป็นหยาดน้ำฟ้า

                  1.  แม่น้ำ ทะเล         2.  น้ำบาดาล น้ำบ่อ

                   3. น้ำฝน น้ำค้าง         4.  ลำคลอง มหาสมุทร


          3. โรงงานอุสาหกรรมก่อให้เกิดผลกระทบต่อแหล่งน้ำ อย่างไร

                  1.  แหล่งน้ำมีกลิ่นเหม็น                         2.  แหล่งน้ำมีอุณหภูมิสูง

                  3.  เกิดการสะสมสารพิษในโซ่อาหารในแหล่ง     4. ถูกต้องทุกข้อ

 

          4.  สารใดเป็นดัชบ่งชี้ปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำโดย วิธีการไทเทรต (titration)

       1.  สารละลายโพแทสเซียมไอโอไดด์ (KI)           2.   สารละลายแมงกานีสซัสซัลเฟต (MnSO4)

       3. สารละลายโซเดียมไธโอซัลเฟต (Na2S2O3)    4.  สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซต์ (NaOH)


          ..จงใช้ข้อมูลต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 5 - 6

นำตัวอย่างน้ำจากสระแห่งหนึ่งปริมาณ 200 ลูกบาศก์เซนติเมตร นำมาหาปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำโดยใช้วิธีไทเทรตพบว่าใช้สารละลายน้ำ Na2S2O3 ความเข้มข้น 0.01 โมลต่อลิตร ปริมาตร 5  ลูกบาศก์เซนติเมตร ในการไทเทรตจนตัวอย่างน้ำไม่ มีสี


          5. ค่าดีโอในสระน้ำมีค่าเท่าใด

                  1.   1 mg/l         2.     2 mg/l

                  3.   3 mg/l         4.     4 mg/l

 

          6. น้ำในสระมีคุณภาพน้ำอย่างไร

                  1.  น้ำสะอาดมาก     2. น้ำเสีย

                  3.  น้ำสะอาด             4.  น้ำบริสุทธิ์

 

          7.  BOD (biochemical oxygen demand) คือข้อใด

            1.  ปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำ ซึ้งสิ่งมีชีวิตใน น้ำใช้ดำรงชีวิต

            2.  ปริมาณออกซิเจนที่ละลายได้รับจากกระบวน การน้ำ ซึ้งสังเคราะห์ด้วยแสงของสิ่งมีชีวิตใน น้ำ

            3. ปริมาณออกซิเจนที่แบคทีเรียต้องการเพื่อใช้ใน ปฏิกิริยาย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำ

            4.   ปริมาณออกซิเจนที่แบคทีเรียต้องการเพื่อใช้ใน ปฏิกิริยาย่อยสลายสารอนินทรีย์ในน้ำ

 

          8. ข้อใดแสดงค่า BOD5 ของน้ำบริสุทธิ์

                  1. BOD5  =   0       2.  BOD5  =   1

                  3. BOD5  =   2       4. BOD5  =   3

 

          9.  ข้อใดคือความหมายของน้ำเสีย (wastewater)

                 1.  ของเสียที่อยู่ในสภาพของเหลวที่ได้รับการ บำบัดแล้ว

                 2.  ของเสียที่อยู่ในสภาพเหลวที่ได้รับการ บำบัดแล้ว หรือไม่ได้รับการบำบัด

                 3.  ของเสียที่อยู่ในสภาพเหลวรวมทั้งมลสารที่ ปะปนหรือปนเปื้อนอยู่ในของเหลวนั้น

                 4.   ถูกทั้งข้อ ข. และ ค.

 

          10. ข้อใดไม่จัดเป็นน้ำเสีย

                  1.  BOD5  =  15  mg/l                    2.  DO  >  3  mg/l

                  3.  แบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด  >  2,000 MPN/100 ml           4.   ค่า  pH  =  10

 

          11. กลุ่มพืชน้ำข้อใดไม่ใช้ในการบำบัดน้ำเสีย

                 1.  ผักตบชวา ธูปฤๅษี        2.   หญ้าแฝก กกสามเหลี่ยม

                 3.   บัว ผักตบชวา                4.  สาหร่ายหางกระรอก ผักแว่น

 

          12. การทำฝนหลวงมีลำดับขั้นตอนอย่างไร

                  1. กระตุ้นให้เมฆรวมตัวเป็นกลุ่มแกน เพื่อใช้ เป็นแกนกลางในการสร้างกลุ่มเมฆฝน

                  2. เพิ่มแกนเม็ดไอน้ำกลุ่มเมฆฝนมีความหนา แน่นมากขึ้น

                  3.  ทำให้เม็ดไอน้ำที่มีขนาดใหญ่ตกกลายเป็น ฝน

                  4. ถูกต้องทุกข้อ

 

          13. สารใดก่อให้เกิดกระบวนการกลั่นตัวของไอน้ำใน บรรยากาศในการทำฝนหลวง

                 1.แคลเซียมคลอไรด์      2.   แอมโมเนียไนเตรด

                 3.   ซิลเวอร์ไอโอไดด์       4.   ยูเรีย

 

          14. ข้อใดลำดับอนุภาคดินจากขนาดเล็กไปใหญ่ได้ ถูกต้อง

                1.   ดินเหนียว ดินทราย ดินทรายแป้ง

                2.   ดินทราย ดินทรายแป้ง ดินเหนียวี

                3.  ดินเหนียว ดินทรายแป้ง ดินทราย

                4.    ดินทราย ดินร่วน ดินเหนียว

 

          15. ดินชั้นใดเป็นชั้นของฮิวมัส

                 1. ผิวดิน    

                 2. ดินชั้นบน

                 3.  ดินชั้นล่าง            

                 4.  ข้อ  ก.  และ  ข.  ถูกต้อง

 

          16. ข้อใดลำดับชั้นของดินจากชั้นบนสู่ชั้นล่างได้ถูกต้อง

                    1. ชั้นผิวดิน

                    2. ดินชั้นบน

                    3. ดินชั้นล่าง

                    4. วัตถุต้นกำเนิดดิน

                    5. ชั้นหินพื้น

                1.     1        2        3          4           5

                2.     2        3        4          5           1

                3.     3        4        5          1           2

                4.     4        5        1         2            3

 

          17. ข้อใดคือสัดส่วนขององค์ประกอบของดิน

                1.   แร่ธาตุ   =    5 %  อินทรียวัตถุ   =   25 %     อากาศ   =    25%     น้ำ   =  45%

                2.   แร่ธาตุ   =    25 %  อินทรียวัตถุ   =   25 %     อากาศ   =    5%     น้ำ   =  45%

                3. แร่ธาตุ   =    25 %  อินทรียวัตถุ   =   5 %     อากาศ   =    25%     น้ำ   =  45%

                4. แร่ธาตุ   =    45 %  อินทรียวัตถุ   =   5 %     อากาศ   =    25%     น้ำ   =  25%


          18. วิธีการใดป้องกันการพังทลายของหน้าดิน

                  1. การปลูกพืชคลุมดิน                                     2.  การปลูกพืชหมุนเวียน

                  3.  การปลูกพืชแบบชั้นบันไดบริเวณไหล่เขา     4. ข้อ ก. และ ค. ถูก

 

          19. สารใดช่วยแก้ปัญหาดินเค็ม

                  1.ยิปซัม       2.  ปูนมาร์ล

                  3.  เปลือกหอยป่น       4.  ปูนขาว

 

          20.  สัดส่วนของแก๊สออกซิเจนในอากาศเป็นเท่าใด

                  1.  75%    21%

                  3.   10%       4.   1%

จงใช้ข้อมูลต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 21 - 22

          1. แก๊สมีเทน

          2. แก๊สไฮโตรเจนซัลไฟต์

          3. แก๊สคาร์บอนมอนอกไซต์

          4. ออกไซต์ของซัลเฟอร์


          21. มลสารที่ปนเปื้อนในอากาศชนิดใดเกิดจากการเผาไหม้แบบไม่สมบูรณ์

                 1. ข้อ 1        2.  ข้อ 2

                 3. ข้อ 3        4.  ข้อ 4

  

          22. มลสารที่ปนเปื้อนในอากาศชนิดใดทำให้เกิดฝนกรด

                 1. ข้อ 1        2.  ข้อ 2

                 3. ข้อ 3     ข้อ 4

 

          23. หากร่างกายได้รับแคดเมียมในปริมาณมากอาจ ก่อให้เกิดอาการอย่างไร

                1.  ทำลายระบบประสาทสมอง ทำให้ปวด กล้ามเนื้อ

                2.   มีพิษต่อระบบทางเดินอาหาร ทำลายปอดและ เม็ดเลือด

                3. เซลล์หน่วยไตถูกทำลาย กระดูกผุกร่อนหัก ง่าย

                4.    วินเวียนศีรษะ อาเจียน แน่นหน้าอก หนาวสั่น


          24. ข้อใดเป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นจากมลพิษทางอากาศ ต่อพืช

                1.   ทำให้พืชเจริญเติบโตช้าลง

                2.   ทำให้ประสิทธิภาพในการสังเคราะห์ด้วยแสง ของพืชลดลง

                3.  ทำให้พืชได้รับแสงน้อยกว่าปกติ

                4. ถูกต้องทุกข้อ


          25. สารใดเป็นสาเหตุทำให้ปริมาณโอโซนในชั้น บรรยากาศลดลง

                 1. สารพอลิอะลูมินัมคอลไรด์

                 2. สารคลอโรฟลูออโรคาร์บอน

                 3.  สารแอมโมเนียมไนเตรด

                 4.  สารแคลเซียมคาร์ไบด์

 

          26. ข้อใดไม่จัดเป็นแก๊สเรือนกระจก

                1.    แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ แก๊สคลอโรฟูลโร คาร์บอน

                2.     แก๊สมีเทน แก๊สไนตรัสออกไซด์

                3.     แก๊สไนตรัสออกไซด์ แก๊คาร์บอนไดออกไซด์

                4.     แก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์ แก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์

 

          27. การทำลายป่าไม้จะส่งผลกระทบอย่างไรต่อมนุษย์

                1.   เกิดปรากฏการณ์การณ์เรือนกระจก

                2.   เกิดอุทกภัยเพราะน้ำท่วมฉับพลัน

                3.   ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในป่าลดลง

                4. ถูกต้องทุกข้อ

 

          28. ข้อใดเป็นสัตย์ป่าสงวนตามพระราชบัญญัติสงวน และคุ้มครองสัตย์ป่า พ.ศ. 2535

              1. สมัน นกกระเรียน แรด       2.  กวางผา เสือดาว สมเสร็จ

              3.  นกยูง เก้งหม้อ เลียงผา       4.  แมวลายหินอ่อน ควายป่า หมีดำ

 

          29. ข้อใดหมายถึงพื้นที่สงวนชีวาลัย

                1.   พื้นที่ที่กำหนดขึ้นเพื่อการคุ้มครองสัตย์ป่าให้ เป็นที่อยู่อาศัยของสัตย์ป่าอย่างปลอดภัย

                2.   พื้นที่ที่รวบรวมพันธุ์ไม้ดอกและไม้ยืนต้นที่มี ค่าทางเศรษฐกิจ

                3. พื้นที่ที่กำหนดขึ้นเพื่อความหลากหลายทาง พันธุกรรมของพืชและสัตว์

                4.   พื้นที่ที่มีทรัพยากรธรรมชาติที่มีความเด่นระดับ โลก


          30.  การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติหมายถึงข้อใด

             1. การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีเหตุผล เพื่อ มนุษย์จะมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณภาพที่ดีตลอดไป

             2.   การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีคุณค่าและ ให้ดำรงอยู่ได้ตลอดไป

             3.    การรักษาและดูแลทรัพยากรธรรมชาติไม่ให้ สูญสิ้นและใช้ประโยชน์คุ้มค่า

             4.   การดูแล ป้องกัน และรักษาทรัพยากร ธรรมชาติไม่ให้ใช้อย่างไม่ประหยัดและคุ้มค่า












































เฉลย

1. 4

2. 3

3. 4

4. 3

5. 2

6. 2

7. 3

8. 1

9. 3

10. 2

11. 4

12. 4

13. 1

14. 3

15. 2

16. 1

17. 4

18. 4

19. 1

20. 2

21. 3

22. 4

23. 3

24. 4

25. 2

26. 4

27. 4

28. 1

29. 3

30. 1

แบบทดสอบ เรื่องโมเลกุลของน้ำ พร้อมเฉลย

                                แบบทดสอบ


1. ข้อใดถูกต้อง


 ก. ธาตุสองชนิดขึ้นไปมาผสมกัน ต้องได้สารประกอบเสมอ


 ข. ธาตุอาจเป็นสารเนื้อเดียวกัน หรือสารเนื้อผสมก็ได้


 ค. ธาตุสามารถแยกเป็นองค์ประกอบย่อยได้อีก


 ง. ในภาวะปกติ ธาตุมีได้ทั้ง 3 สถานะ


2. ข้อใดเป็นธาตุทั้งหมด


 ก. เหล็ก อากาศ ทองคำ


 ข. ไฮโดรเจน คาร์บอน นิเกิล


 ค. พลวง ปรอท แอลกอฮอล์


 ง. กำมะถัน ด่างทับทิม ปรอท


3. ข้อใดต่อไปนี้ จัดเป็นธาตุทั้งหมด


 ก. CO2 NO2 O2 H2


 ข. H2O He Na Cl2


 ค. Mg N2 Br2 O2


 ง. K Mg Be CO


จงพิจารณาข้อมูลต่อไปนี้แล้วตอบคำถามข้อ 4-5


ธาตุ A มีสมบัตินำไฟฟ้าไม่ได้, มีสถานะก๊าซ


ธาตุ B มีสมบัตินำไฟฟ้าได้, ผิวเป็นมันวาว


ธาตุ C มีสมบัตินำไฟฟ้าไม่ได้, เปราะ


ธาตุ D มีสมบัตินำไฟฟ้าได้, เปราะ




4. ธาตุใดเป็นโลหะ


 ก. A


 ข. B


 ค. C


 ง. D


5. ธาตุใดเป็นกึ่งโลหะ


 ก. A


 ข. B


 ค. C


 ง. D


6. ธาตุในข้อใด เป็นโลหะทั้งหมด


 ก. Li Al P


 ข. Al B Zi


 ค. Na Mg C


 ง. Zn Ag Na


7. ข้อใดเป็นสัญลักษณ์ของธาตุทองคำ


 ก. Cu


 ข. Ag


 ค. Au


 ง. Ga


8. อนุภาคที่เล็กที่สุดของสสารเรียกว่าอะไร


 ก. ธาตุ


 ข. อะตอม


 ค. โมเลกุล


 ง. สารประกอบ


9. อนุภาคมูลฐานของธาตุ คือข้อใด


 ก. โปรตอน และนิวตรอน


 ข. โปรตอน และอิเล็กตรอน


 ค. นิวตรอน และอิเล็กตรอน


 ง. โปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอน


10. โมเลกุลของ H3PO4 กับ C2H6O มีจำนวนอะตอมแตกต่างกันกี่อะตอม


 ก. 1 อะตอม


 ข. 2 อะตอม


 ค. 3 อะตอม


 ง. 4 อะตอม


11. เมื่ออะตอมของธาตุเสียอิเล็กตรอนจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นสิ่งใด


 ก. ไอออนลบ


 ข. ไอออนบวก


 ค. สารประกอบ


 ง. ธาตุชนิดใหม่


12. ข้อใดมีการใช้ประโยชน์จากธาตุ ไม่ถูกต้อง


 ก. อะลูมิเนียมใช้ทำแผ่นห่ออาหาร


 ข. ทองแดงใช้ทำมอเตอร์ไฟฟ้า


 ค. ทองคำใช้ทำเครื่องประดับ


 ง. คลอรีนใช้เป็นตัวนำไฟฟ้า


13. สัญลักษณ์ของธาตุที่มีจำนวนอิเล็กตรอนเท่ากับ 13 จำนวนนิวตรอนเท่ากับ 14 คือข้อใด


 ก.   


 ข.   


 ค.   


 ง.   


14. การใช้ประโยชน์จากธาตุกำมันตรังสีในข้อใดถูกต้อง


 ก. Co - 60 ตรวจสอบอายุวัตถุโบราณ


 ข. Na - 23 ใช้รักษาโรคเบาหวาน


 ค. U - 238 ใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า


 ง. I - 131 ใช้รักษาโรคตับอักเสบ


จงพิจารณาข้อมูลต่อไปนี้แล้วตอบคำถามข้อ 15


1) ธาตุ X เกิดปฏิกิริยาเคมีกับธาตุ Y เกิดเป็นสารประกอบ Z คายพลังงานความร้อน


2) ธาตุ M ให้รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อลดพลังงานส่วนเกินในนิวเคลียส


3) ธาตุ A รวมกับธาตุ B เกิดเป็นสารละลาย AB คายพลังงานความร้อน


4) ธาตุ W แผ่รังสีแอลฟาเพื่อลดพลังงานส่วนเกินในนิวเคลียส


15. ข้อใดเป็นธาตุกัมมันตรังสี


 ก. ข้อ 1 และ 2


 ข. ข้อ 3 และ 4


 ค. ข้อ 2 และ 4


 ง. ข้อ 1 และ 3


16. สารในข้อใดเป็นสารประกอบทุกสาร


 ก. ด่างทับทิม ปูนขาว เกลือแกง


 ข. แนฟทาลีน เหรียญบาท กำมะถัน


 ค. น้ำอัดลม น้ำปูนใส น้ำตาลทราย 


 ง. ทิงเจอร์ไอโอดีน น้ำเชื่อม ทองเหลือง


17. ข้อใดต่อไปนี้ จัดเป็นสารประกอบทั้งหมด


 ก. CO2 NaCl H2O


 ข. O2 N2 H2O2


 ค. Cl2 CO O2


 ง. S8 N2 H2


18. สารในข้อใดจัดเป็นสารประกอบ


 ก. สาร A เป็นของเหลวใสไม่มีสีนำไปแยกด้วยไฟฟ้าได้ธาตุ X กับธาตุ Y


 ข. สาร B เป็นของเหลวสีเงิน เป็นมันวาว เหนียว จุดหลอมเหลว –39 oC


 ค. สาร C มีสถานะเป็นของแข็ง จุดหลอมเหลว 1,535 oC และนำไฟฟ้า


 ง. สาร D เป็นของแข็งสีดำ จุดหลอมเหลว 2,030 oC และไม่นำไฟฟ้า


19. ข้อใดมีการใช้ประโยชน์จากสารประกอบ ไม่ถูกต้อง


 ก. กรดซัลฟิวริกใช้เติมแบตเตอรี่


 ข. โซเดียมคลอไรด์ใช้ปรุงอาหาร


 ค. แคลเซียมคาร์บอเนตใช้ทำผงซักฟอก


 ง. สารส้มใช้แกว่งน้ำให้ตะกอนตกลงก้นตุ่ม


20. สารประกอบในข้อใดเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากแดงเป็นน้ำเงินทั้งหมด


 ก. เกลือแกง หินปูน ยิปซัม


 ข. น้ำขี้เถ้า ดินประสิว ด่างทับทิม


 ค. แอมโมเนีย โซดาไฟ น้ำปูนใส


 ง. กรดเกลือ น้ำส้มสายชู กรดคาร์บอนิก




































เฉลย


1) ง.


2) ข.


3) ค.


4) ข.


5) ง.


6) ง.


7) ค.


8) ข.


9) ง.


10) ก.


11) ข.


12) ง.


13) ก.


14) ค.


15) ค.


16) ก.


17) ก.


18) ก 


19) ค.


20) ค.

แบบทดสอบ เรื่องมลพิษทางอากาศ พร้อมเฉลย

                                แบบทดสอบ

1.มลภาวะหมายถึง


ก. ภาวะสภาพของสิ่งมีชีวิต


ข. ภาวะสภาพแวดล้อม


ค. ภาวะทางเสียง


ง. ภาวะที่เกิดกับมนุษย์


ตอบ ข. ภาวะสภาพแวดล้อม


 


2.การเผาขยะทำให้เกิดมลพิษประเภทใด


ก. มลภาวะทางอากาศ


ข. มลภาวะต่อดิน


ค. มลภาวะทางเดินหายใจ


ง. มลภาวะต่อคน


ตอบ ก.มลภาวะทางอากาศ 


 


3.ข้อใดเป็นมลพิษทางเสียงที่เป็นอันตรายมากที่สุด


ก. เสียงเครื่องบิน


ข. เสียงรถไฟ


ค. วงดนตรีร็อค


ง. โรงงานผลิตอลูมิเนียม


ตอบ ก.เสียงเครื่องบิน 


 


4.ขยะประเภทใดที่จัดเป็นขยะอันตรายส่วนล่างของฟอร์ม


ก. ผักเน่า


ข.โลหะ


ค. หลอดไฟฟ้า


ง. พลาสติก


ตอบ ค. หลอดไฟฟ้า 


 


5.ข้อใดเป็นวิธีกำจัดขยะที่ไม่สร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม


ก. เผาในที่เผาขยะ


ข. ทิ้งในถังขยะ


ค. นำขยะเปียกไปหมักทำปุ๋ย


ง. นำไปขาย


ตอบ ค. นำขยะเปียกไปหมักทำปุ๋ย


 


6.ของเสียอันตราย” หมายถึงข้อใด


ก. ยาฆ่าแมลง


ข. ขยะเปียก


ค. ขวดพลาสติก


ง. กระป๋องแป้ง


ตอบ ก.ยาฆ่าแมลง 


 


7.ข้อใดเป็นขยะรีไซเคิล


ก. ขวดแก้ว


ข. ถุงพลาสติก


ค. ขวดพลาสติก


ง. กล่องโฟม


ตอบ ค. ขวดพลาสติก 


 


8.ข้อใดที่ทำให้เกิดเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ


ก. การทิ้งขยะมูลฝอย


ข. การสูบบุหรี่


ค. การใช้ยาฆ่าแมลง


ง. ถูกทุกท้อ


ตอบ ง. ถูกทุกท้อ


 


9.เหตุใดในปัจจุบันมีมลพิษทางอากาศเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ


ก. คนในสังคมมีฐานะดีขึ้น


ข. ปริมาณประชากรที่สูงขึ้น


ค. ความเจริญทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว


ง. ถูกทุกข้อ


ตอบ ค. ความเจริญทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว


 


10.มลพิษทางอากาศหมายถึงอะไร


ก. อากาศที่ไม่บริสุทธิ์


ข. อากาศที่มีสารปะปนอยู่ในระดับที่สูงกว่าปกติ


ค. สารพิษที่เป็นอันตรายที่อยู่ในอากาศ


ง. อากาศที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย


ตอบ ข. อากาศที่มีสารปะปนอยู่ในระดับที่สูงกว่าปกติ


 


11.น้ำเสียจากชุมชนคืออะไร


ก. น้ำเสียที่เกิดจากกิจกรรมต่างๆ ของประชาชน


ข. น้ำในแม่น้ำลำคลองที่อยู่ใกล้ชุมชน


ค. น้ำที่เหลือใช้จากบ้านเรือน


ง. ถูกทุกข้อ


ตอบ ก. น้ำเสียที่เกิดจากกิจกรรมต่างๆ ของประชาชน


 


12.ข้อใดเป็นแหล่งกำเนิดสารมลพิษทางอากาศที่สำคัญของไทย


ก. แหล่งกำเนิดจากยานพาหนะ


ข. แหล่งกำเนิดจากโรงงานอุตสาหกรรม


ค. แหล่งกำเนิดจากขยะและของเสีย


ง. ถูกทั้ง ก และ ข


ตอบ ง. ถูกทั้ง ก และ ข


 


13.มลพิษทางอากาศจากแหล่งกำเนิดอุตสาหกรรม เกิดจากอะไร


ก. การเผาไหม้เชื้อเพลิง


ข. การขนส่ง


ค. กระบวนการผลิต


ง. ถูกทั้ง ก และ ค


ตอบ ง. ถูกทั้ง ก และ ค


 


14.เชื้อเพลิงที่ใช้สำหรับอุตสาหกรรมมีกี่ประเภท


ก. ประเภทเดียว


ข. 2 ประเภท


ค. 3 ประเภท


ง. 4 ประเภท


ตอบ ค. 3 ประเภท ได้แก่


เชื้อเพลิงที่เป็นของแข็ง


เชื้อเพลิงที่เป็นของเหลว ได้แก่ น้ำมันเตา และน้ำมันดีเซล


เชื้อเพลิงที่เป็นก๊าซ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ และก๊าซ LPG


 


15.ข้อใดแนวทางการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ


ก. กำหนดให้มีและบังคับใช้มาตรฐานคุณภาพอากาศ


ข. สำรวจและตรวจสอบคุณภาพอากาศจากแหล่งกำเนิดต่างๆเป็นประจำ


ค. ลดปริมาณมลพิษทางอากาศจากแหล่งกำเนิด ทำได้โดยการเปลี่ยนชนิดของเชื้อเพลิงที่ใช้ การ ปรับปรุงกระบวนการผลิต การลดมลพิษจากยานพาหนะ


ง. ถูกทุกข้อ


ตอบ ง. ถูกทุกข้อ


 


16.ข้อใดคือมลพิษทางอากาศ


ก. Soil Pollution


ข. Air Pollution


ค. Noise Pollution


ง. Water Pollution


ตอบ ข. Air Pollution


 


17.ข้อใดคือสาเหตุที่ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ


ก. การเผาไหม้ของกิจกรรมต่างๆ


ข. การกระจายของฝุ่นละอองต่างๆ เกิดจากการขนส่งและผสมวัสดุก่อสร้างต่างๆ


ค. โรงงานอุตสาหกรรมหรือแปรรูปวัตถุดิบ


ง. ถูกทุกข้อ


ตอบ ง. ถูกทุกข้อ


 


18.ชนิดของมลพิษทางอากาศจำแนกได้เป็นกี่ประเภท


ก. 3 ประเภท


ข. 5 ประเภท


ค. 2 ประเภท


ง. 4 ประเภท


ตอบ ก. 3 ประเภท ได้แก่


ก๊าซอินทรีย์ ได้แก่ ไฮโดรคาร์บอน เช่น มีเทน บิวเทน เบนซีน aldehydeและ ketone สารอินทรีย์อื่นๆ เช่น formaldehyde, acetone, alcohols organic acids, chlorinated hydrocarbon


ก๊าซอนินทรีย์ได้แก่ ก๊าซที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ (ระเหยได้)เช่น NO, NO2, HNO3 ก๊าซที่มีซัลเฟอร์เป็นองค์ประกอบ เช่น SO2 ,SO3 ก๊าซที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบเช่น CO, CO2 สารประกอบที่มีฮาโลเจน (halogen) คือ I, Br, Cl, F ประกอบอยู่ด้วย


อนุภาคมลสาร(particulate matter) ประกอบด้วยสารต่างๆ ทั้งที่เป็นของแข็ง และของเหลวที่กระจายอยู่ในบรรยากาศ ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 ไมครอน (micron)ไปจนถึงหลายร้อยไมครอน เช่น ควัน เขม่า ฝุ่น ขี้เถ้า คาร์บอน ละอองน้ำ น้ำมัน ต่างๆ


 


19.ข้อใด ไม่ใช่ มลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้นจากแหล่งธรรมชาติ


ก. ไฟไหม้ป่า


ข. ฝนกรด


ค. การระเบิดของภูเขาไฟ


ง. การเน่าเปื่อย


ตอบ ข.ฝนกรด         


 


20.ข้อใด ไม่ใช่ มลพิษทางอากาศที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์


ก. การเผาขยะมูลฝอย


ข. การหมัก


ค. การใช้เชื้อเพลิงภายในบ้าน


ง. การจราจร


ตอบ ข. การหมัก 

แบบทดสอบ เรื่องการใช้ประโยชน์จากอากาศ พร้อมเฉลย

                                แบบทดสอบ

1. กาลอากาศ หมายถึงอะไร
1)อากาศทั้งหมดที่ห่อหุ้มโลกของเราไว้
2)การเกิดลมพายุเนื่องจากจากเปลี่ยนแปลงความกดดันของอากาศ
3)เกณฑ์เฉลี่ยของอากาศในที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ในช่วงเวลาพอสมควร
4)สภาวะของอากาศในที่แห่งใดแห่งหนึ่งในช่วงเวลาอันจำกัดซึ่งไม่ยาวนัก


2. ข้อใดไม่ใช่ ประโยชน์ของบรรยากาศที่หุ้มห่อโลก
1)ช่วยกั้นรังสีคลื่นสั้น
2)ช่วยกรองรังสีอัลตราไวโอเลต
3)ดูดกลืนและทำลายวัตถุที่พุ่งเข้าหาโลก
4)ช่วยลดความร้อนให้แก่บรรยากาศบนโลก

3. ส่วนประกอบของอากาศที่มีปริมาณมากที่สุด คืออะไร
1)ก๊าซอาร์กอน
2)ก๊าซออกซิเจน
3)ก๊าซไนโตรเจน
4)ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

4. ส่วนประกอบของอากาศในข้อใดมีสถานะเป็นของแข็ง
1)อาร์กอน
2)ออกซิเจน
3)ไฮโดรเจน
4)ฝุ่นละออง

5. บรรยากาศชั้นที่มีความแปรปรวนตลอดเวลา คือข้อใด
1)เอกโซสเฟียร์
2)โทรโพสเฟียร์
3)สตราโตสเฟียร์
4)ไอโอโนสเฟียร์

6. ข้อใดเป็นความสัมพันธ์ระหว่างความดันอากาศกับความหนาแน่นอากาศ
1)ความดันมาก ความหนาแน่นมาก
2)ความดันมาก ความหนาแน่นน้อย
3)ความดันน้อย ความหนาแน่นมาก
4)ความดันคงที่ ความหนาแน่นน้อย

7. อากาศมวลขนาดหนึ่ง เมื่อเคลื่อนที่ตามแนวดิ่งสูงขึ้นไปจากระดับน้ำทะเลจะเกิดการเปลี่ยนแปลงตามข้อใด
1)ปริมาตรลดลง อุณหภูมิลดลง
2)ปริมาตรลดลง อุณหภูมิสูงขึ้น
3)ปริมาตรเพิ่มขึ้น อุณหภูมิลดลง
4)ปริมาตรเพิ่มขึ้น อุณหภูมิสูงขึ้น

8. ปัจจัยใดที่เป็นสาเหตุทำให้บรรยากาศเกิดการเปลี่ยนแปลง
1)ลม และพายุ
2)ลมและอุณหภูมิ
3)ลมและความกดดัน
4)อุณหภูมิและความกดดัน

9. เพราะเหตุใดก่อนฝนตกบรรยากาศเหนือพื้นดินจึงรู้สึกร้อนอบอ้าว
1)พื้นดินคายความร้อน
2)พื้นน้ำคายความร้อนแฝง
3)เม็ดฝนคายความร้อนแฝง
4)ก้อนเมฆคายความร้อนแฝง

10. บริเวณที่มีความกดอากาศต่ำ การเคลื่อนที่ของลมจะตรงกับข้อใด
1)พัดเวียนเข้าหาศูนย์กลางตามเข็มนาฬิกา
2)พัดเวียนเข้าหาศูนย์กลางทวนเข็มนาฬิกา
3)พัดเวียนออกจากศูนย์กลางตามเข็มนาฬิกา
4)พัดเวียนออกจากศูนย์กลางทวนเข็มนาฬิกา

11. หย่อมความกดอากาศสูง หมายถึงบริเวณใด
1)บริเวณที่มีความกดอากาศสูง ความหนาแน่นต่ำ อุณหภูมิต่ำ
2)บริเวณที่มีความกดอากาศสูง ความหนาแน่นสูง อุณหภูมิต่ำ
3)บริเวณที่มีความกดอากาศต่ำ ความหนาแน่นสูง อุณหภูมิต่ำ
4)บริเวณที่มีความกดอากาศต่ำ ความหนาแน่นต่ำ อุณหภูมิต่ำ

12. .เพราะเหตุใดคืนที่ท้องฟ้าปลอดโปร่งจะมีน้ำค้างมากกว่าคืนที่มีเมฆมาก
1)ไม่มีเมฆบังไอน้ำไว้
2)โลกคายความร้อนได้ช้า
3)โลกคายความร้อนได้เร็ว
4)ฝุ่นละอองในอากาศมีมาก

13. เพราะเหตุใดในฤดูหนาวผิวหนังของเราจึงแตกและแห้ง
1)อากาศมีไอน้ำมาก
2)อุณหภูมิของอากาศต่ำ
3)ความกดดันของอากาศสูง
4)ความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศน้อย

14. การตัดไม้ทำลายป่ามีผลกระทบต่อความชื้นของอากาศหรือไม่
1)มี เพราะส่วนหนึ่งของความชื้นมาจากการคายน้ำของพืช
2)มี เพราะต้นไม้ช่วยยับยั้งความชื้นในอากาศรวมตัวเป็นก้อนเมฆ
3)ไม่มี เพราะความชื้นในอากาศมาจากแม่น้ำลำคลอง
4)ไม่มี เพราะความชื้นในอากาศมาจากการระเหยของน้ำจากดิน

15. การที่อุณหภูมิของบรรยากาศภายในโลกร้อนขึ้นทุกปีและมักไม่เป็นไปตามฤดูกาล นักวิทยาศาสตร์สันนิฐานว่ามาจากสาเหตุใด
1)ป่าไม้มีปริมาณลดลง
2)โลกหมุนรอบตัวเองเร็วขึ้น
3)โลกเคลื่อนที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้น
4)การเพิ่มปริมาณของก๊าซบางชนิดที่ได้จากแหล่งอุตสาหกรรม

16. ชั้นบรรยากาศของโลกไม่ฟุ้งกระจายออกไปสู่อวกาศเนื่องจากอะไร
1)ชั้นโอโซนกั้นไว้
2)เรือนกระจกกั้นไว้
3)แรงดึงดูดของโลก
4)แรงดึงดูดจากดวงอาทิตย์

17. อุณหภูมิของอากาศบนยอดเขาเย็นกว่าที่เชิงเขาเพราะเหตุใด
1)บนยอดเขามีเมฆมากกว่า
2)บนยอดเขามีป่ามากกว่า
3)บนยอดเขามีฝนตกชุกกว่า
4)บนยอดเขาอยู่สูงจากผิวโลกมากกว่า

18. ลมไต่ฝุ่น คือลมชนิดใด
1)ลมไซโคลนที่พัดหมุนวนเข้าสู่ศูนย์กลาง ซึ่งเป็นบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำ
2)ลมไซโคลนที่พัดหมุนวนออกจากศูนย์กลาง ซึ่งเป็นบริเวณที่มีความกดอากาศสูง
3)ลมแอนตี้ไซโคลนที่พัดหมุนวนเข้าสู่ศูนย์กลาง ซึ่งเป็นบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำ
4)ลมแอนตี้ไซโคลนที่พัดหมุนวนออกจากศูนย์กลาง ซึ่งเป็นบริเวณที่มีความกดอากาศสูง

19. พายุไต้ฝุ่นที่เกิดในประเทศไทยนั้นมักจะพัดมาจากทิศใด
1)ใต้
2)เหนือ
3)ตะวันตก
4)ตะวันออก

20. ข้อใดคือส่วนประกอบที่ไม่พบในบรรยากาศ
1)ไอน้ำ
2)สารเคมี
3)คลื่นวิทยุ
4)ฝุ่นละออง























































เฉลย

1. สภาวะของอากาศในที่แห่งใดแห่งหนึ่งในช่วงเวลาอันจำกัดซึ่งไม่ยาวนัก

2. ช่วยกั้นรังสีคลื่นสั้น

3. ก๊าซไนโตรเจน

4. ฝุ่นละออง

5. โทรโพสเฟียร์

6. ความดันมาก ความหนาแน่นมาก

7. ปริมาตรเพิ่มขึ้น อุณหภูมิสูงขึ้น

8. ลมและอุณหภูมิ

9. ก้อนเมฆคายความร้อนแฝง

10. พัดเวียนออกจากศูนย์กลางตามเข็มนาฬิกา

11. บริเวณที่มีความกดอากาศต่ำ ความหนาแน่นต่ำ อุณหภูมิต่ำ

12. โลกคายความร้อนได้เร็ว

13. ความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศน้อย

14. มี เพราะส่วนหนึ่งของความชื้นมาจากการคายน้ำของพืช

15. การเพิ่มปริมาณของก๊าซบางชนิดที่ได้จากแหล่งอุตสาหกรรม

16. แรงดึงดูดของโลก

17. บนยอดเขาอยู่สูงจากผิวโลกมากกว่า

18. ลมไซโคลนที่พัดหมุนวนเข้าสู่ศูนย์กลาง ซึ่งเป็นบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำ

19. ตะวันออก

20. คลื่นวิทยุ



ที่มา https://sites.google.com/site/drdruamtae/home/baeb-thdsxb

แบบทดสอบ เรื่องธาตุ พร้อมเฉลย

                             แบบทดสอบ

1.ข้อมูล          1) ธาตุ X เกิดสารประกอบ XCO3


  2) ธาตุ X เกิดปฏิกิริยาได้ดีกับน้ำร้อน ได้สารละลายที่มีสมบัติเป็นเบส


            ธาตุ X คืออะไร


 ตอบ ง. แคลเซียม


 


2. สมบัติของธาตุแฮโลเจน ข้อใดถูกต้อง


  ตอบ ก. ความสามารถในการซิงอิเล็กตรอนลดลงจากบนลงล่าง


 


3. ข้อมูล          1) XCI ละลายน้ำมีสมบัติเป็นกลาง


                      2) X2O ละลายแสดงสมบัติเป็นเบส


  ตอบ ก. Li


 


4. ข้อใดเป็นการจัดเรียงอิเล็กตรอนของธาตุแทรนซิซัน


  ตอบ ค. 2 , 8 , 15 , 2  


 


5. ข้อใดเป็นการจัดเรียงอิเล็กตรอน 24Cr2+


 ตอบ ข. 2 , 8 , 12                  


 


6. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับธาตุไฮโดรเจน


 ตอบ ก. เกิดสารประกอบที่มีเลขออกซิเดซันที่มีทั้งชนิดเป็นบวกและลบ


 


7. จงพิจารณาข้อความต้องไปนี้ ข้อใดถูกต้อง


 ตอบ ข. กัมมันตภาพรังสีเกิดจากการเปลี่ยนแปลงภายในนิวเครียสของธาตุไอโซโทปที่ไม่เสถียร


8 . ธาตุกัมมันตรังสีชนิดหนึ่ง 20 กรัม มีครึ่งชีวิต 8 วัน ต่อมาเหลือ 1.25 กรัม ธาตุนี้ใช้เวลาในการสลายตัวเท่าไร


 ตอบ ข. 32 วัน 


9. ธาตุกัมมันตรังสี Y 30 วัน ทิ้งไว้ 10 วัน สลายตัวไป 15 กรัม เมื่อทำการทดลองอีกครั้งหนึ่งโดยถ้าทิ้งธาตุเดิมนี้ไว้ 50 วัน จะเหลือ 15 กรัม อยากทราบว่าจากการทอลองครั้งนี้มีมวลธาตุ Y เริ่มต้นมีกี่กรัม


 ตอบ ง. 480


 


10. ข้อความใดไม่ถูกต้อง


 ตอบ ค. โครเมียมเป็นธาตุที่ทำงานร่วมกับอินซูลิน ช่วยควบคุมปริมาณน้ำตาลในเลือด 

แบบทดสอบ เรื่องอะตอม พร้อมเฉลย

                           แบบทดสอบ

1. จากผลการทดลองของทอมสัน  ทำให้ทอมสันได้ข้อมูลเกี่ยวกับอะตอมมากขึ้นเขาจึงเสนอแบบจำลองอะตอมว่าอย่างไร
1.อะตอมประกอบด้วยอนุภาคอิเล็กตรอนที่มีประจุเป็นลบ    อนุภาคโปรตอนมีประจุเป็นบวก
2.สารทุกชนิดประกอบด้วยอนุภาคขนาดเล็กที่สุดเรียกว่า “ อะตอม”
3.อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันจะมีสมบัติเหมือนกันทุกประการ
4.อิเล็กตรอนจะเคลื่อนที่รอบนิวเคลียสเป็นชั้นๆ ตามระดับพลังงาน  และแต่ละชั้นจะมีพลังงานเป็นค่าเฉพาะตัว

2. ไอโซโทป ( Isotope ) หมายถึงอะไร
1.  อะตอมของธาตุชนิดเดียวกัน มีเลขอะตอมเท่ากัน   แต่มีเลขมวลต่างกัน 
2.  อะตอมของธาตุต่างชนิดกันที่มีเลขมวลเท่ากัน   แต่มีเลขอะตอมไม่เท่ากัน 
3.  อะตอมของธาตุต่างชนิดกันที่มีเลขมวลเท่ากัน   แต่มีเลขอะตอมไม่เท่ากัน 
4.  อะตอมของธาตุต่างชนิดกันแต่มีจำนวนนิวตรอนไม่เท่ากัน

3.ไอโซบาร์ (  Isobar )   หมายถึงอะไร
1. อะตอมของธาตุต่างชนิดกันแต่มีจำนวนนิวตรอนไม่เท่ากัน
2. อะตอมของธาตุชนิดเดียวกัน มีเลขอะตอมเท่ากัน   แต่มีเลขมวลต่างกัน 
3. อะตอมของธาตุต่างชนิดกันที่มีเลขมวลเท่ากัน   แต่มีเลขอะตอมไม่เท่ากัน 
4. อะตอมของธาตุต่างชนิดกันที่มีเลขมวลเท่ากัน   แต่มีเลขอะตอมไม่เท่ากัน 

4. ธาตุแบ่งออกได้เป็นกี่สถานะ
1.5สถานะ
2.6สถานะ
3.3สถานะ
4.4สถานะ

5. ข้อใดไม่ใช่สมบัติทั่วไปของสารละลายกรด(4)
1. มีรสเปรี้ยว
2 . เปลี่ยนกระดาษลิตมัสจากน้ำเงินเป็นแดง
3. นำไฟฟ้าได้
4. มีค่า pH มากกว่า 7

6.ข้อใดไม่ใช่แบบจำลองอะตอมของดอลตัน
1.  อะตอมมีขนาดเล็กแบ่งแยกไม่ได้
2.  อะตอมของธาตุต่างชนิดมีมวลนิวตรอนเท่ากันได้
3.  อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันมีสมบัติเหมือนกัน
4.  ธาตุทำปฏิกิริยาด้วยอัตราส่วนเลขลงตัวน้อย ๆ

7. รังสีแคโทดเกิดจากส่วนใด
1.  ขั้วแคโทด
2.  แก๊สที่บรรจุภายใน
3.  ขั้วแคโทด  และแก๊สที่บรรจุภายใน
4.  ขั้วแคโทด  ขั้วแอโนดและแก๊ส

8.ถ้านำแร่แคสซิเทอไรด์มาถลุงจะได้อะไร
1. ดีบุก
2. สังกะสี
3. ทองแดง
4. ตะกั่ว

9.ธาตุในข้อใดที่ใช้ในอุตสาหกรรมเซรามิกส์
1. Pb
2. Sb
3. Cd
4. Zn

10.แร่รัตนชาติใดมีความแข็งแรงมากที่สุด
1. มรกต
2. โกเมน
3. ไพริน
4. เพทาย